วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2558

สรุปการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้

สรุปการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation)  


ชื่อ กัญญาณีย์  โยธาทัย เลขที่18  ม.5/ 9
กลุ่มที่  4
ปัญหาที่นักเรียนศึกษา  ปัญหารถติด
ที่มาและความสำคัญของปัญหา
สภาวะการจราจรติดขัดเป็นปัญหาที่มีมายาวนาน ซึ่งก็ได้รับการแก้ไขเรื่อยมา แต่ก็ยังไม่สามารถขจัดปัญหาโลกแตกนี้หมดไปได้ จากการลงพื้นที่สำรวจปัญหาสภาพการจราจรติดขัดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลจากพื้นที่ตัวอย่าง ในเขตสี่แยกท่าพระ พบว่าช่วงก่อนหน้านี้มีปัญหารถติดอย่างหนักในเขตพื้นที่นี้ แต่ก็สามารถแก้ไขให้เคลื่อนตัวไปได้ด้วยดีจนทำให้ปัญหารถติดบริเวณสี่แยกท่าพระน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด และพบว่าปัจจัยหลักที่เห็นประจักษ์ชัดที่ทำให้เกิดปัญหารถติดหนักในกรุงเทพมหานครโดยภาพรวมแล้วมากจาก ปริมาณรถบนท้องถนนเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งปัญหาจากจิตสำนึกของผู้ใช้รถและถนนเป็นประจำทุกวัน ซึ่งนอกจากนี้ยังมีปัญหาอื่นๆมากมายตามมาในลักษณะลูกโซ่ จนทำให้รู้สึกว่าเป็นเรื่องที่แก้ไขยากขึ้นทุกที 

     ต่อมาคือ ปัญหาการไม่เคารพกฎจราจร ซึ่งปัญหานี้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้รถติดในปัจจุบันอย่างมากเช่นกัน เพราะการที่คนใช้ท้องถนนอย่างไม่เคารพกฎจราจรนั้นย่อมทำให้เกิดปัญหาด้านอุบัติเหตุตามมา เช่นการขับมอเตอร์ไซค์วิ่งบนฟุตบาท การขับแซง และเมื่อเกิดอุบัติเหตุ พื้นผิวจราจรก็จะเสียไป ทำให้รถไม่สามารถเคลื่อนตัวได้ตามปกติ
  
     หรือปัญหาจากฝนตก โดยเฉพาะช่วงที่ฝนตกหนักอาจทำให้เกิดภาวะน้ำขังตามพื้นผิวจราจร และอาจส่งผลให้ไฟจราจรเสียหรือขัดในขณะหนึ่งได้ อีกทั้งปัญหาจากการที่ผู้ปกครองจอดรถรับส่ง บุตรหลานไปโรงเรียน หรือปัญหาพื้นผิวจราจรที่เป็นหลุมเป็นบ่อทำให้รถชะลอตัวได้ลำบาก และทำให้การเคลื่อนตัวของรถติดขัด ไม่สามารถเคลื่อนตัวได้สม่ำเสมอ ปริมาณรถจึงสะสมเพิ่มขึ้น? อย่างไรก็ดี ร.ต.ต. บูชา ยังเผยว่า สาเหตุที่สีแยกท่าพระรถติดน้อยลงนั้นมากจากการกระจายตัวของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรตรวจสอบตามจุดสำคัญต่างๆอยู่เป็นประจำนั่นเอง และประชาชนผู้ใช้ท้องถนนในเขตนี้ ช่วงหลังๆมาต่างมีวินัยมากขึ้น

วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาปัญหาการจราจรติดขัด
2.เพื่อเรียนรู้วิธีการสร้างภาพยนต์สั้นเกี่ยวกับปัญหาการจราจร

ผลการศึกษา
1.เพื่อทราบถึงสาเหตุของปัญหารถติด การแก้ไขปัญหา การปฎิบัติตามกฎจราจรที่ถูกต้อง
2.รู้สภาวะที่ต้องอยู่ในอาการรถติด และการปฎิบัติตามกฎจราจรที่ถูกต้อง ทราบขั้นตอนวิธีการสร้างหนังสั้น ฝึกการทำงานร่วมกับผุู้อื่นโดยการแบ่งการทำหน้าที่ของแต่ละคน

เสนอแนวคิดในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบด้วยองค์ความรู้จากการค้นพบ
เราต้องทราบสาเหตุของปัญหารนั้นๆและแก้ไขปัยหาจากต้นเหตุ การเคารพกฎจราจร และการมีน้ำใจในการใช้รถใช้ถนนของคนในสังคม
นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการเรียนวิชา IS1
เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น ใช้ใช้ทักษาะความสามารถต่างๆนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันและการช่วยเหลือผุ้อื่น

วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558

จัดอันดับเมืองรถติดที่สุดในโลก

จัดอันดับเมืองรถติดที่สุดในโลก

1. จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
2. อิสตันบูล ประเทศตุรกี
3. เม็กซิโก ซิตี้ ประเทศเม็กซิโก
4. สุราบายา ประเทศอินโดนีเซีย
5. เซ็นต์ ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย
6. มอสโคว ประเทศรัสเซีย
7. โรม ประเทศอิตาลี
8. กรุงเทพฯ ประเทศไทย
9. กัวดาลาจารา ประเทศเม็กซิโก
10. บัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา


ข้อมุลจาก http://news.ch7.com/detail.html

ปฏิบัติ13 ข้อ แก้ปัญหารถติดได้


1.หยุดออกรถใหม่ (นโยบายรถคันแรก ช่างหัวอิปูมันไม่ต้องสนใจ)
2.แท็กซี่หยุดจอดแช่ ตามป้าย ตาม ริมถนน
3.รถเมล์หยุดจอดแช่ หยุดป้าย เข้าขวาแล้วออกซ้าย วิ่งตามเลนซ้ายของตนเอง
4.รถยนต์หยุด ขับปาดซ้าย เบียดขวา ขับตรงไปเรื่อยๆ ถ้าไม่เลี้ยว ก็ไม่ต้องเบียด ไม่ต้องกลัวไม่ได้ไป ถ้าไปดีๆ ได้ไปทุกคัน5.รถยนต์ทุกชนิด หยุดวิ่งชิดซ้าย เบียนเลนรถจักรยานยนต์

6.รถจักรยานยนต์ก็หยุดวิ่งเลนขวา เลนกลาง ( แต่ปกติเลนซ้าย รถใหญ่มันครองหมด)
7.หยุดฝ่าไฟแดง ในขณะไฟเขียวกำลังจะหมดเวลา (เพราะฝ่าไฟแดง รถจะไปติดกันกลางไฟแดง เพราะต่างคนต่างจะไป สรุป ไปไหนไม่ได้สักทาง เพราะก็จะไป)
8.หยุดบีบแตรถ้ารถติดแช่นาน ก็ไม่ต้องบีบแตร ใส่กัน ยิ่งบีบ ยิ่งเบียดกัน

9.มีน้ำใจ หยุดรถให้รถคันอื่นเลี้ยว จะได้ไม่ค่อยๆขยับๆออกมาเบียดเองกลางถนน
10.หยุดรถทุกครั้งเวลาเห็นคนจะข้ามถนน ตรงทางม้าลาย ไม่ต้องให้คน เล่นเกมส์ วิ่งข้ามถนน ว่าจะรอดหรือไม่รอด
11.หยุดจอดรถ ในที่ห้ามจอด โดยจะเฉพาะช่วงถนนคอขวด
12.ถ้าไม่จำเป็นก็ใช้รถสาธารณะในการเดิน(จะได้ไม่ต้องบ่นว่าน้ำมันแพง)
13.ที่สำคัญปฏิบัติตามกฏจราจร

ที่มา http://www.manager.co.th/mwebboard/listComment.aspx?QNumber=340482&Mbrowse=16


สถิติการขึ้นทะเบียนรถ

สถิติการขึ้นทะเบียนรถ





จากสถิติ 6 ปีย้อนหลังของกรมการขนส่งทางบก พบว่า ทุก ๆ ปี (ยกเว้นปี 2552) ในกรุงเทพมหานครจะมีรถยนต์จดทะเบียนใหม่เพิ่มขึ้น โดยเราจะลองมาดูเฉพาะสถิติของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ซึ่งเป็นประเภทของรถยนต์ที่มีคนจดทะเบียนมากที่สุด

  ปี 2550
มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน จดทะเบียนใหม่ จำนวน 175,122 คัน
 ปี 2551 
มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน จดทะเบียนใหม่ จำนวน 190,057 คัน เพิ่มขึ้นจากปี2550 คิดเป็น 8.52%
  ปี 2552
มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน จดทะเบียนใหม่ จำนวน 172,892 คัน ลดลงจากปี2551 คิดเป็น 9.03%
  ปี 2553 
มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน จดทะเบียนใหม่ จำนวน 255,132 คัน เพิ่มขึ้นจากปี2552 คิดเป็น 47.56%
 ปี 2554
มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน จดทะเบียนใหม่ จำนวน 286,590 คัน เพิ่มขึ้นจากปี2553 คิดเป็น 12.33%
  ปี 2555

มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน จดทะเบียนใหม่ จำนวน 451,651 คัน เพิ่มขึ้นจากปี2554 คิดเป็น 57.59%
ข้อมูลจาก http://hilight.kapook.com/view/89813

การสร้างสะพานใน ก.ท.ม. เพื่อแก้ไขปัญหารถติด

การสร้างสะพานใน ก.ท.ม. เพื่อแก้ไขปัญหารถติด



โครงการถนนสะพานที่จะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2558 
1. โครงการก่อสร้างถนนพหลโยธิน-ถนนรัตนโกสินทร์สมโภชน์ เพื่อเพิ่มโครงข่ายถนน แก้ไขปัญหาด้านการจราจร ระหว่างถนนพหลโยธิน (บริเวณซอยพหลโยธิน 50) กับถนนวัชรพล และถนนสุขาภิบาล 5 ขณะนี้ก่อสร้างไปแล้ว 91% เสร็จกลางปี 58 
2. โครงการก่อสร้างถนนเชื่อมถนนรัชดาภิเษกกับถนนลาดพร้าว-วังหิน ก่อสร้างถนนเชื่อมถนนรัชดาภิเษกกับถนนลาดพร้าว-วังหิน แก้ปัญหาจราจรบริเวณถนนรัชดาภิเษกกับถนนลาดพร้าว-วังหิน และพื้นที่ต่อเนื่องใช้เป็นเส้นทางลัดโดยผ่านซอยอาภาภิรมย์ (ซอยรัชดาภิเษก 32) ก่อสร้างแล้วเสร็จไปแล้ว 72% คาดเปิดใช้บริการ เดือน ก.พ. 2558 
3. โครงการก่อสร้างปรับปรุงถนนสุขาภิบาล 2 ช่วงจาก ถนนอ่อนนุชถึงถนนวงแหวนรอบนอก ขยายผิวจราจรเดิม 2 ช่องจราจรเป็น 4 ช่องจราจร พร้อมทางเท้าและท่อระบายน้ำเพื่อรองรับปริมาณจราจรที่เพิ่มมากขึ้น โดยเชื่อมระหว่างถนนอ่อนนุชถึงถนนวงแหวนรอบนอก ก่อสร้างแล้วเสร็จต้นปี 2558 ดำเนินก่อสร้าง แล้ว 88% 
4. โครงการก่อสร้างทางต่างระดับถนนพัฒนาการ-ถนนอ่อนนุช ดำเนินการปรับปรุงจุดตัดบริเวณทางแยกถนนพัฒนาการ- ถนนอ่อนนุช เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรเร่งด่วนของกรุงเทพมหานคร ก่อสร้างแล้วเสร็จ มี.ค. 58 งานเสร็จสมบูรณ์ปลายปี 58 ดำเนินก่อสร้างแล้ว 55%

 5. โครงการก่อสร้างปรับปรุงซอยเฉลิมพระเกียรติ ร.ซอย 28 ช่วงจากวงเวียน ถึงจุดที่ปรับปรุงแล้ว ปรับปรุงถนนเดิมเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก มีทางเท้าและท่อระบายน้ำ เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการจราจรในบริเวณนี้ และแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ก่อสร้างแล้วเสร็จ ปลายปี 58 ดำเนินก่อสร้างแล้ว 47% 
6. โครงการก่อสร้างสะพานต่างระดับถนนจรัญสนิทวงศ์-ถนนกาญจนาภิเษก ปรับปรุงจุดตัดบริเวณทางแยกถนนจรัญฯ ถนนกาญจนาภิเษก ก่อสร้างแล้วเสร็จมีนาคม 2558ขณะนี้ได้ดำเนินการก่อสร้างไปแล้ว 86%
 7.โครงการก่อสร้างทางลอดถนนตากสินกับถนนรัชดา ภิเษก เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรบริเวณทางแยก (แยกมไหศวรรย์) ก่อสร้างเสร็จปลายปี 2558 ดำเนินการก่อสร้างแล้ว50% 
8. โครงการก่อสร้างปรับปรุงซอยประชาอุทิศ 90 ช่วงจากถนนประชาอุทิศถึงคลองเก้าห้อง ขยายผิวจราจรเดิม 2 ช่อง เป็น 4 ช่องจราจรพร้อมเพิ่มทางเท้าและท่อระบายน้ำ ก่อสร้างเสร็จ ก.พ. 2558 ดำเนินการก่อสร้างแล้ว 70% 
9. โครงการก่อสร้างปรับปรุงถนนทวีวัฒนา ช่วงจากถนนอุทยานถึงถนนเพชรเกษม เป็นการก่อสร้างเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของถนนให้สอดคล้องกับการพัฒนาพื้นที่และเหมาะสมตามสภาวะ ของปัญหาทางด้านการจราจรและสภาพทางเศรษฐกิจ แล้วเสร็จกลางปี 2558 ดำเนินการก่อสร้าง 69%.


ข้อมูลจาก http://www.dailynews.co.th/bangkok/291026

แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของปัญหารถติด

แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของปัญหารถติด



ปี 58 เมืองกรุงรถติดขึ้นอีก | เดลินิวส์
ปี 58 เมืองกรุงรถติดขึ้นอีก เหตุอภิมหาโครงการก่อสร้างยังยืดเยื้อ คาดวิกฤติสุดย่านรอยต่อโซนกรุงเทพนนท์-ปทุมฯ นับวันปัญหารถติดในกรุงเทพมหานครก็ยิ่งดูเหมือนจะทวีความรุนแรงมากขึ้น สารพันโครงการแก้ปัญหาในหลาย ๆ รูปแบบที่หลากหลายหน่วยงานช่วยกันผุดขึ้นนั้น ดูเหมือนจะเป็นการแก้ปัญหาได้แค่เศษเสี้ยว เพราะแท้จริงแล้ว ต้นเหตุของปัญหารถติด เกิดจากเมืองที่มีจำนวนถนนที่ไม่สัมพันธ์กับปริมาณรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีถนนหนทางเพียงแค่ 5,400กิโลเมตร แต่กลับมีจำนวนรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุก ๆ ปี ซึ่งจากสถิติของกรมการขนส่งทางบก พบว่า ในปี 57 ที่ผ่านมา พื้นที่กรุงเทพฯ มีปริมาณรถยนต์สะสมถึงจำนวน 8,638,204 คัน ซึ่งเพิ่มมากขึ้นจากปี56ที่มีปริมาณรถสะสมอยู่ที่ 8,216,829 คัน ทั้งนี้ในปี 57มีการจดทะเบียนรถใหม่เฉลี่ยวันละ1,249 คัน เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับปี56ซึ่งเป็นปีที่มีโครงการรถคันแรก จะมีการจดทะเบียนรถใหม่เฉลี่ยวันละ1,623 คัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในปี 57มีจำนวนการจดทะเบียนรถน้อยลงกว่าปี 56 เฉลี่ยวันละ374 คัน แต่หากนำมาเปรียบเทียบกับจำนวนการจดทะเบียนรถใหม่ในปี 55ที่ไม่มีโครงการรถคันแรก จะพบว่าสถิติการจดทะเบียนรถใหม่ในปี 57ยังคงเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดปัญหารถติดบนท้องถนนก็เนื่องจากอภิมหาโครงการก่อสร้างต่าง ๆ ที่เบียดบังพื้นผิวการจราจรไปจำนวนหนึ่ง ทำให้รถไม่สามารถใช้ถนนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งมีดังนี้1. โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ซึ่งจะกระทบการจราจรในย่านนนทบุรี บางบัวทอง 2. โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค-บางซื่อ-ท่าพระ ซึ่งจะกระทบต่อสภาพการจราจรในพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นใน อาทิถนนเจริญกรุง ถนนอิสรภาพ ถนนเพชรเกษม ถนนจรัญสนิทวงศ์3. โครงการก่อสร้างทางลอดแยกไฟฉาย ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อถนนจรัญสนิทวงศ์ และถนนพรานนก4. โครงการสร้างทางลอดแยกมไหศวรรย์ ซึ่งทำให้ถนนตากสิน และถนนรัชดาภิเษกเกิดการจราจรติดขัดอย่างหนัก5.โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ซึ่งกระทบโดยตรงต่อการจราจรในเส้นสุขุมวิท ยาวไปถึงการจราจรในจังหวัดสมุทร ปราการ6. โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ที่ทำให้ถนนโลคัลโรดรถติดยาวตลอดทั้งเส้นทาง7. โครงการก่อสร้างทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอก ซึ่งทำให้การจราจรในถนนราชพฤกษ์ จรัญสนิทวงศ์ สิรินธร บรมราชชนนี และกำแพงเพชร หนาแน่นและติดขัดตลอดเส้นทาง ทั้งนี้โครงการดังกล่าวถือว่าเป็นโครงการที่ต้องใช้ระยะเวลาในการก่อสร้าง และในปี 58โครงการเหล่านี้ก็ยังไม่มีท่าทีว่าจะแล้วเสร็จ ซึ่งก็จะยังคงส่งผลกระทบต่อสภาพการจราจรต่อไปในอนาคต



ข้อมูลจาก  http://www.dailynews.co.th/bangkok/291026

รถติด สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจถึง 0.8% ของ GDP

รถติด สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจถึง 0.8ของ GDP



          
 ผลาญน้ำมันไปฟรีๆ) หรือทางอ้อม (เวลางานที่เสียไป/มลภาวะ/สุขภาพ) แต่ "ต้นทุน" จริงๆ ของมันถ้าตีออกมาเป็นตัวเลขแล้วเป็นเท่าไร?
           ศูนย์วิจัย Centre for Economics and Business Research จากลอนดอน จับมือกับบริษัทวิเคราะห์สภาพจราจร INRIX วิเคราะห์ข้อมูลรถติดของ 4 ประเทศคือ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี สหรัฐอเมริกา เพื่อดูว่าสภาพจราจรติดขัดส่งผลกระทบใน 3 ประเด็นคือ
การสูญเสียผลิตผลจากการทำงาน (productivity)
ค่าใช้จ่ายจากการเดินทางที่เพิ่มขึ้น (เทียบกับราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นในช่วงเดียวกัน)
ต้นทุนด้านการเกิดมลพิษ โดยวัดจากอัตราการปล่อยคาร์บอน
ผลการคำนวณพบว่า "รถติด" ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่า 0.8% ของ GDP รวมของทั้ง 4ประเทศ โดยถ้าวัดเป็นความเสียหายรวมกัน 4 ประเทศคือ 2 แสนล้านดอลลาร์ และตัวเลขนี้จะเพิ่มเป็น 3 แสนล้านดอลลาร์ในปี 2030 ส่วนรายละเอียดความเสียหายแยกเป็นรายประเทศสามารถอ่านได้จากลิงก์ที่มา

Dominic Jordan ตัวแทนนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลของ INRIX ให้ความเห็นว่าการแก้ปัญหารถติดนั้นไม่ง่าย การสร้างหรือขยายถนนไม่ได้ช่วยแก้รถติด เพราะเอาเข้าจริงแล้วรถติดเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง (เช่น เมื่อเศรษฐกิจดี คนจะซื้อรถและไม่ประหยัดน้ำมัน) การนำเทคโนโลยีบางอย่างมาใช้อาจช่วยได้ เช่น รถยนต์ขับอัตโนมัติทำให้อัตราการหยุดรถน้อยลง หรือรถยนต์พลังไฟฟ้าช่วยลดอัตราการปลดปล่อยคาร์บอนลง
ข้อมูลจาก  https://www.meconomics.net/content/834


การแก้ปัญหารถติด

การแก้ปัญหารถติด
ขยายถนนให้กว้างเท่ากันตลอดสาย
พยายามลดการตัดกระแสของรถที่วิ่งบนถนนให้มากที่สุด
โดยกำหนดจุดเส้นทางให้รถที่ออกจากตรอกซอกซอยไปออกในทางเดียวกัน
เพื่อลดการตัดกระแสของรถทางตรง
ทำสะพานลอยหรืออุโมงค์ตามสี่แยกที่มีรถมาก เพื่อลดการตัดกระแสกัน
พยายามลดการเพิ่มปริมาณรถลงด้วยการ ออกกฎการซื้อรถใหม่ดังนี้
-ในการซื้อรถใหม่ต้องใช้เงินสดเท่านั้น ห้ามซื้อด้วยระบบเงินผ่อน
(กฎเกณฑ์นี้ต้องไม่เห็นแก่ผู้ประกอบการขายรถ จึงจะได้ผลดี)
เก็บภาษีรถให้สูงขึ้น
ซื้อรถแล้วต้องมีที่จอดรถห้ามาจอดในถนน
รถเก่าเกิน 10ปีห้ามวิ่งในกรุงเทพฯ ให้ไปวิ่งในต่างจังหวัดเท่านั้น
ออกใบอนุญาติขับขีให้ยากขึ้น ป้องกันไม่ให้มีการซื้อใบอนุญาติขับขี่
วางแผนการขุดเจาะ และปรับปรุงพื้นผิวจราจรให้เป็นระบบเป็นระเบียบ
ให้เหลือเส้นทางที่รถจะหลีกเลี่ยงไปใช้ได้มากขึ้นไม่ใช่ขุดเจาะปรับปรุงเกือบทุกจุด
จนแทบไม่มีเส้นทางหลีกเลี่ยงอย่างในเวลานี้ และต้องดูแลให้เสร็จสิ้นโดยเร็วเพื่อใช้
เวลาในการกีดขวางเส้นทางการจจราจรให้น้อยที่สุด
ปรับปรุงระบบขนส่งมวลชนให้ดีให้ได้มาตรฐานที่สุด มีความสะดวกสบาย ไม่แพง
มีบรืการที่ดีอย่างทั่วถึง เมื่อบริการดีประชาชนก็อยากใช้บริการไม่ต้องซื้อรถมาขับ
เองให้สิ้นเปลือง
ออกกฏห้ามจอดรถในผิวจราจรโดยเด็ดขาด ห้างร้านต่างๆต้องทำที่จอดรถให้พอ
เพียง ร้านค้าริมถนนต้องมีที่จอดรถให้ลูกค้าเพื่อไม่ให้มาจอดกีดขวางการจราจร
ปรับปรุงการปล่อยสัญญาไฟจราจรให้สัมพันธ์กัน ให้รถวิ่งได้ต่อเนื่องตลอดเส้นทาง
เคลียร์จุดขึ้นลงทางด่วนให้โฟร์ตลอด ทางด่วนควรด่วนสมชื่อ
10 พยายามขยายถนนเพื่อรองรับกับจำนวนรถที่เพิ่มขึ้นให้ทันกัน
11 ผู้ใช้รถใช้ถนนต้องให้ความเอื้อเฟื้อกัน ให้ความร่วมมือให้ความเคารพกฎจาราจร
อย่างเคร่งครัด และไม่ประมาทในการขับขี่



ข้อมูลจาก http://pantip.com/topic/30622955